ไม่น่าเชื่อ โปแตส รักษาโรค

ไม่น่าเชื่อ!!   โปแตสเซียม !!ช่วยชีวิต!!

แก้ไขความรู้สึกอยากตาย จากโรคที่ไม่ทำให้ตาย
อิอิ … มาต่อกันค่ะ จากกระทู้โหดร้ายเมื่อวานของเหมียวซาดิส

ย้อนอาการก่อนเนาะ ถ้าเรามีอาการต่อไปนี้ ซัก 30+ นะคะ
1. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

2. รู้สึกเบื่อหน่าย -ซึมเศร้า
3. นอนไม่หลับ

4. มีอาการทางประสาท
5. เวียนหัว-ปวดหัว

 6. เหงื่อแตกบ่อยๆ
7. มือสั่น

8. หัวใจเต้นผิดปรกติ
9. ปวดกล้ามเนื้อปวดหลัง

10. เบื่ออาหาร
11. จิตใจฟุ้งซ่าน ขาดสมาธิ

12. เนื้อตัวชาเป็นบางครั้ง
13. ท้องอืด ท้องขึ้น

14. มือเย็น เท้าเย็น
15. รู้สึกสับสนปั่นป่วน

16. เป็นตะคริวบ่อย
17. เบื่อการพบปะผู้คน

18. อ้วน น้ำหนักเกิน
19. การทรงตัวไม่ดี

20. อยากฆ่าตัวตาย
21. เกิดการชักกระตุก

22. เป็นลมบ่อยๆ
23. ความจำเสื่อม

24. วิตกกังวลง่าย
25. หิวอย่างรุนแรง ก่อนถึงเวลา

26. ลังเลตัดสินใจไม่ได้
27. อยากกินของหวานๆ

28. กามตายด้าน
29. มีอาการภูมิแพ้

30. การประสานงาน ส่วนต่างๆ ของร่างกายเลวลง
31. คันตามผิวหนัง

32. หายใจไม่ออกบ่อยๆ
33. ฝันร้ายบ่อยๆ

34. ปากแห้ง-คอแห้ง
35. ลมหายใจ และปากมีกลิ่นแปลกๆ

36. โมโหร้าย
37. ถ่ายอุจจาระผิดปรกติ

38. ถ่ายปัสสาวะผิดปรกติ
39. หน้าร้อนผ่าวบ่อยๆ

40. ทนเสียงอึกทึก-แสงจ้าๆ ไม่ได้

อาการเหล่านี้ เมื่อไปตรวจแล้ว จะไม่พบความผิดปกติเลยค่ะ จนหมอเขาอาจบอกว่า คิดไปเอง หรือเครียดมากไป แล้วก็ให้ยาคลายเครียดมากินแต่คุณหมอที่ศึกษาเขาไปค้นค่ะ ว่าโรคนี้มีผลมาจาก ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำแล้วยังไม่สม่ำเสมออีกตะหาก
ตอนนี้แหละค่ะ ที่จะบอกว่า มันเป็นผลมาจากการใช้ชีวิตของเราๆ ที่เจอเรื่องเครียดๆเอย มลพิษเอย ไหนจะทานอาหารที่อร่อยปาก(ลำบากท้อง) ร่างกายสะสมทั้งพิษทางกาย โดนบีบคั้นทางใจ ทางใจอ่ะ ก็แก้ไขไปตามแนว อันนี้ ทำใจค่ะพี่น้อง ทำจายยย คิดในทางบวกเยอะๆส่วนทางกาย ในเมื่อมันมีเหตุจากการกินตามใจปาก (อันนี้แทงใจเหมียวดังจึ๊กๆๆ)
ก็ต้องแก้จากการกินค่ะอย่ากินอาหารมันๆ รสจัดๆ แป้งแยะๆ อะไรเทือกนั้น ให้หันมาทานจำพวกข้าวไม่ขัดขาว หรือข้างกล้อง ข้าวซ้อมมือ โฮลวีท อะไรพวกนั้นค่ะ เพราะเป็นคาร์โบโอเดรตเชิงซ้อน ย่อยช้าหน่อย ค่อยๆปล่อยน้ำตาลออกมาค่ะ ดึงเวลาให้ระดับน้ำตาลคงที่ หรือ ทานชีวจิตไปเลยก็จะดีค่ะ … ทานชีวจิต ที่จริงไม่ยุ่งยากนะคะ เลือกที่ทำง่ายๆสิคะ ง่ายๆแล้วอร่อยด้วยก็มีแยะค่ะ ( พูดแล้วอยากกินแกงเลียงจังเลย) อ๊ะๆ แต่บางทีการกินแต่อาหารเพื่อปรับสมดุลอย่างเดียวมันก็ไม่ทันกาล
ก็ต้องมีทานยาเสริมเข้าไปบ้าง คุณหมอท่านก็ได้บอกไว้อ่ะค่ะ ว่า

ให้เติมแร่ธาตุกลุ่มเกลือคาร์บอนิคซอลท์ ได้แก่ “””โซเดียม แคลเซียม โปแตสเซียม และแมกนีเซียม””” สี่ตัวนี้ค่ะ จะช่วยทำให้อาการป่วยหายเร็วขึ้น

กลุ่มเกลือคาร์บอนิค ที่มีในอาหารนั้น มีดังนี้

โซเดียม ช่วยขับถ่ายทางผิวหนัง (เหงื่อ) ช่วยให้การทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อ มีอยู่ใน เกลือ หอย แครอท หัวบีท อาร์ติโช้ค เนื้อสัตว์

แคลเซียม สร้างกระดูก ฟัน เล็บ ช่วยการเต้นของหัวใจ ทำให้นอนหลับ ช่วยให้ธาตุเหล็กทำงานดีขึ้น สร้างเลือด ช่วยระบบประสาท ได้จากนม และผลิตผลจากนม ปลา และกระดูกปลา ถั่วต่างๆ วอลนัท เมล็ดทานตะวัน ถั่วเหลือง ถั่วแดง ผักใบเขียว

โปแตสเซียม ช่วยให้สมองทำงานดีขึ้น ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยแก้ภูมิแพ้ ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด มีในพวกส้ม และผลไม้เปรี้ยว แคนตาลูป มะเขือเทศ แห้ว ผักใบเขียว เมล็ดทานตะวัน กล้วย มัน (หัว)

แมกนีเซียม ช่วยแก้รู้สึกซึมเศร้า ช่วยระบบเลือดหัวใจ ช่วยฟันแข็งแรง ช่วยละลายแคลเซียมสะสม ช่วยในการย่อยมีในมะนาว ส้มโอ ข้าวโพด อัลมอนด์ ถั่วต่างๆ ผักเขียวแก่ แอปเปิ้ล

ถ้าจะทานเสริมอย่างสกัดเป็นเม็ด หรือเป็นอาหารเสริมก็ให้ทาน แคลเซียม 500 มก. โปแตสเซียม 100 มก. แมกนีเซียม 300 มก. (กินทุกวัน ประมาณ 2-3 อาทิตย์) โซเดียมไม่ต้องเติม เพราะคนไทยกินเค็มมากอยู่แล้ว.

ใครที่ทานอยู่แล้ว อย่าไปเบิ้ลนะคะ น้อยไปก็ไม่ดี มาก

Potash News, Thailand, 2012

Chinese state company seeks permit for potash exploration

China Ming Ta Potash Corporation is preparing to apply for an exploration permit for a 100,000-rai potash mining project in Sakhon Nakhon province.

The Chinese state-owned enterprise was first given permission eight years ago to survey the potential of the northeastern province for potash mining.

The Industry Ministry itself has also been studying possibilities of potash mining for the past 10 years, said Somkiat Pootongchairit, director-general of the ministry’s Department of Primary Industries and Mines.

When it began its study, potash was selling for US$100 per tonne in world markets. The price today is $500-600 a tonne. “In the

[Asian] region, only Thailand has resources for potash, and it’s a pity that it’s a lost opportunity for us as we are now importing from Germany, Russia and Canada,” said Mr Somkiat.

China has demand for 8 million tonnes, India fort 6 million and Asean for 5 million tonnes. Potash is used to produce fertiliser and its byproducts can be used to produce rock salt and magnesium.

Thailand, however, would have a capacity of less than 3 million tonnes if taken into consideration the amount of projects in Thailand that have applied for exploration permits.

The department has now given permits for potash exploration on 74,437 rai area to Asia-Pacific Potash Corporation (APPC) in Udon Thani province and the 100-square-kilometre area to Asean Potash Mining Co in Bamnet Narong district in Chaiyaphum province.

APPC has already surveyed the location and is currently conducting a health and environmental impact assessment (EHIA), which will be followed by a public hearing before approval is sought by the Industry Minister.

Asean Potash, meanwhile, is in the process of surveying the location.

Both projects have already been frozen for nearly two decades because of strong opposition of local communities.

The department has hired King Mongkut’s University of Technology North Bangkok to study strategic environmental assessments (SEA) to implement a development strategy for potash mining in Thailand while taking into consideration economic, social, technological and environmental issues.

“We expect the study to be finished by next month, and when companies come to us we will have to see whether their EHIAs comply with our SEA,” Mr Somkiat said

เหมืองโปแตชใกล้ความเป็นจริง

เหมืองโปแตชใกล้ความเป็นจริง

——————————————————————————–

วันศุกร์ ที่ 23 ธ.ค. 2554 Photo
กรุงเทพฯ 24 ธ.ค.-นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มอบรางวัลประจำปีของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 2554 แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่งมีผู้ประกอบการได้รับรางวัลรวม 67 ราย ใน 3 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย รางวัลมาตรฐานเหมืองแร่สีเขียว รางวัลมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งการพัฒนาความเป็นเลิศของงานด้านโลจิสติกส์ในการประกอบการ

นพ.วรรณรัตน์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแร่ต้องอยู่ในศีล ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติดี คิดดี ทำดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสังคม พร้อมกันนี้ต้องนำหลักการความรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปพัฒนาองค์กรของตนเอง เพื่อยกระดับเป็นผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการโดยคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างมีดุลยภาพทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ปัจจุบันอุตสาหกรรมเหมืองแร่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละ 56,000 ล้านบาท รัฐบาลเก็บค่าภาคหลวงได้ปีละ 1,300 ล้านบาท สำหรับปี 55 คาดว่าจะมีแนวโน้มสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและมูลค่าการจัดเก็บค่าภาคหลวงที่สูงกว่าปีนี้

นายสมเกียรติ ภู่ธงชัยฤทธิ์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีปริมาณสำรองแร่โปแตชมากติดอันดับโลกล่าสุดราคาสูงถึงตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้มีผู้ประกอบการ 5 ราย จากต่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุนเหมืองแร่โปแตช เช่น จากจีนสนใจเข้ามาลงทุนเหมืองแร่โปแตชในไทย เพราะจีนต้องการแร่โปแตชมากถึงปีละ 8 ล้านตัน อาเซียนต้องการ 5 ล้านตัน/ปี อินเดีย 6 ล้านตัน/ปี จากปัจจุบันมีผู้เดินหน้าขอประทานบัตรแล้ว 2 ราย คือ บริษัทเหมืองโปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) ลงทุนที่ จ.ชัยภูมิ ซึ่งพื้นที่นี้ไม่มีการคัดค้านจากประชาชน จึงเตรียมที่จะเดินหน้าทำเหมืองใต้ดินพื้นที่ 15,000 ไร่ โดยการรังวัดพื้นที่เสร็จแล้วเมื่อเดือนตุลาคมปี 53 ซึ่งต้นปีหน้าจะเห็นรายละเอียดทางด้านเทคนิค ซึ่งฝั่งประชาชนผู้มีส่วนได้เสียจะได้รับเงินกองทุนเพื่อจ้างนักวิชาการเข้าไปตรวจสอบทางเทคนิคด้วย เพราะหากเทคนิคไม่ผ่านเหมืองโปแตชก็เกิดขึ้นไม่ได้ ส่วนอีกแห่งคือที่ จ.อุดรธานี บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (APPC) ของกลุ่มอิตาเลียนไทย จะทำเหมืองแร่โปแตชใต้ดินพื้นที่ 26,000 ไร่ มีประชาชนคัดค้าน คาดว่าจะมีการรังวัดเกิดขึ้นในอีก 5 เดือนข้างหน้า ด้วยระบบดาวเทียม (GPS) เพื่อน้ำไปสู่การขอประทานบัตรต่อไป

ทั้งนี้ กพร.ขอให้มีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 เพิ่มเติม นอกจากการทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งมาตรการดูแลเหล่านี้ หากไม่ผ่านโครงการเหมืองโปแตชก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ส่วนกระบวนการออกประทานบัตรต้องใช้เวลาประมาณ 500 วันนับจากรังวัดพื้นที่.-สำนักข่าวไทย

บทสัมภาษณ์เลขาธิการสภาการเหมืองแร่ ๙ ส.ค.๒๕๕๔

โปแตช ข้อดี ข้อเสีย การทำเหมือง การผลิต และการควบคุมผลกระทบ (บทความของคุณหมอ พญ.ฉันทนา ผดุงทศ)

โปแตช…..เจ้าเอย
ข้อมูลสื่อ
File Name : 238-009
วารสารคลินิก เล่ม : 238
เดือน-ปี : 10/2547
คอลัมน์ : อาชีวเวชศาสตร์ปริทัศน์
นักเขียนหมอชาวบ้าน : พญ.ฉันทนา ผดุงทศ
Fri, 01/10/2547 – 00:00 — somsak
ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างกรณีเหตุการณ์ด้านความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาหลายแห่งแล้ว ตั้งแต่ปัญหาแคดเมียมที่อำเภอแม่สอด เหมืองทองที่อำเภอวังทรายพูน โรงไฟฟ้าที่อำเภอแม่เมาะ ปัญหาตะกั่วที่อำเภอทองผาภูมิ และสารหนูที่ร่อนพิบูลย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลกระทบที่เกิดจากการทำเหมืองแร่. บทความชุดอาชีวเวชศาสตร์ปริทัศน์ฉบับนี้ ขอปิดประเด็นเรื่องของ ” เหมือง ” กับสุขภาพด้วยเหตุการณ์น้องใหม่ในวงการ ที่อาจจะขยายเป็นประเด็นความเสี่ยงต่อสุขภาพที่น่าจับตาเหมือนกับกรณีอื่น.

ความเป็นมา
ในสมัยกว่า 20 ปีก่อนนี้ รัฐบาลได้วางแผนในการทำเหมืองแร่โปแตชในประเทศไทย และได้มีการดำเนินการทำเหมืองส่วนหนึ่งในเขตอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ. อย่างไรก็ตามแหล่งแร่โปแตสที่มีขนาดใหญ่และน่าจะให้ผลได้นานกว่าอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีการร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลไทยกับผู้ลงทุนชาวต่างชาติและมีแนวโน้มจะเปิดดำเนินการในเวลาไม่นานนักเนื่องจากกฎหมายที่มีผลต่อการทำเหมือง* ได้รับการปรับแก้ในปี พ.ศ. 2545 หลังความพยายามผลักดันของกลุ่มผู้ลงทุนมาเป็นระยะเวลานาน.

ขณะเดียวกันช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 ต่อต้น ปี พ.ศ. 2546 ประชาชนในพื้นที่มีการรวมกลุ่มกันเคลื่อนไหวคัดค้านการเตรียมการสร้างเหมืองโปแตช ที่จังหวัดอุดรธานี และสื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวในแง่ว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลที่การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment-EIA) ไม่ครอบคลุมประเด็นที่สำคัญหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment-HIA).

ในมุมมองของนักวิชาการที่ทำงานด้านผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม ข่าวนี้มีประเด็นที่น่าติดตามเนื่องจากไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นการคัดค้านโครงการใหญ่ระดับชาติขนาดนี้ในช่วงเวลาที่ยังไม่ได้เปิดดำเนินการ อันหมายถึงโอกาสในการที่จะยุติการดำเนินการได้หากมีหลักฐานเพียงพอว่าก่อความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม และ/หรือสุขภาพ และที่น่าสนใจคือ กรณีนี้จะก่อความขัดแย้งรุนแรงเช่นกรณีโรงไฟฟ้าหินกรูด บ่อนอก หรือท่อแก๊สที่อำเภอจะนะ ที่มีมาก่อนหน้านั้นหรือไม่.

อุดรธานี 2546
จากการสืบค้นข้อมูล การเข้าเยี่ยมพื้นที่และการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในช่วงกลางปี พ.ศ. 2546 ทำให้พอจะสรุปได้ว่า พื้นที่ 4 ตำบลของอำเภอเมืองและกิ่งอำเภอหนองประจักษ์ จังหวัดอุดรธานี (ตำบลโนนสูง ตำบลนาม่วง ตำบลหนองไผ่ และตำบาลห้วยสามพาด) เป็นแหล่งแร่โปแตชที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มีปริมาณกว่า 300 ล้านตัน สามารถผลิตโปแตชได้ 2 ล้านตันต่อปี. นั่นคือหากได้สัมปทานจะสามารถผลิตแร่ได้อีกนานทีเดียว ซึ่งรัฐบาลมีแนวโน้มจะให้สัมปทานครั้งนี้นานถึง 22 ปี.

ท่านผู้อ่านคงสงสัยว่าแร่โปแตชคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร แร่โปแตชหรือ Potash ที่ว่านี้มีชื่อทางเคมีว่าโพแทสเซียมคลอไรด์ (potassium chloride) จัดในกลุ่มเกลืออนินทรีย์ (inorganic salt) ประกอบ ด้วยสารเคมี 2 ชนิด คือ โพแทสเซียมคลอไรด์ (สูตรเคมี KCl) ในปริมาณร้อยละ 95-100 และโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงที่เราคุ้นเคย (สูตรเคมี NaCl) ในปริมาณร้อยละ 0-5. ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของแร่โปแตชคือ การนำไปสกัดให้ได้เป็นโพแทสเซียมในการผลิตปุ๋ย** เรียกได้ว่าผลประโยชน์จากการทำเหมืองโปแตชจะทวีค่าขึ้นอีกมหาศาลด้วยการเป็นสารนำเข้าของการทำปุ๋ยนี่เอง.

โดยทั่วไปองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่งระบุว่าโปแตชเป็นสารที่ไม่มีพิษภัยอะไรทั้งกับมนุษย์ สัตว์หรือสิ่งแวดล้อมทั่วๆ ไป. อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการสัมผัสสารนี้ ผลเฉียบพลันอาจก่อให้เกิดการระคายดวงตาหรือผิวหนังได้ รวมทั้งถ้าสูดหายใจหรือกินเข้าไปในปริมาณมากๆ ในคราวเดียวก็อาจระคายทางเดินหายใจหรือก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้. อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะได้รับเข้าร่างกายปริมาณมาก โปแตชก็จะถูกขับออกจากร่างกายอย่างรวดเร็วโดยไม่ได้ทำอันตรายต่อไตหรือระบบการไหลเวียนเลือดในร่างกาย.

สำหรับผลในระยะยาวนั้น ไม่พบว่าโปแตชมีผล ต่อสุขภาพเรื้อรังในคนที่แข็งแรง เนื่องจากผลการวิจัย ไม่พบว่าเป็นสารก่อมะเร็งหรือทำให้เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม แต่สำหรับคนที่มีปัญหาโรคไต ควรลดการสัมผัสสารนี้. กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาถือว่าโปแตชเป็นสารที่อาจเรียกได้ว่าปลอดภัย (generally recognized as safe) เนื่องจากไม่ก่ออันตรายถ้าใส่ในอาหารภายใต้กระบวนการผลิตที่ดี (GMP-Good Manufacturing Practice).

ท่านผู้อ่านน่าจะสงสัยว่าแล้วประเด็นความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ประชาชนชาวอุดรธานีเขาเป็นห่วงกันคือเรื่องอะไร?
ผลต่อสุขภาพ?
เอกสารของหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขององค์การสหประชาติ1 ระบุว่า การทำเหมืองโปแตชทำได้ 2 แบบ คือ เหมืองบนผิวดินกับเหมืองใต้ดิน.

เหมืองใต้ดินทำในบริเวณแหล่งน้ำจืดที่มีเกลือปนอยู่เยอะ เช่น แถบทะเลสาบเดดซี (Dead Sea) โดย ใช้แสงอาทิตย์ทำให้น้ำระเหยจนเกลือตกผลึกเข้มข้น. ขณะที่เหมืองใต้ดินทำบริเวณที่มีแหล่งแร่ด้วยการ เจาะอุโมงค์ใต้ดินสลับกับการเว้นผนังไว้ให้เป็นเสาค้ำยัน (เพื่อกันอุโมงค์ถล่ม) โดยใช้เครื่องเจาะที่มีหัวเจาะขนาดใหญ่ในการทะลุทะลวงชั้นหินลงไปถึงตัวแหล่งแร่ที่ความลึกระหว่าง 400-1,000 เมตร. จากนั้นจะต้องมีการลำเลียงหินที่มีแร่ขึ้นมาบนผิวดินเพื่อย่อยและแต่งจนได้เป็นโปแตช. ขั้นตอนหนึ่งของการแต่งแร่นี้ทำให้มี” ของเสีย” เป็นเกลือแร่ต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมาก เรียกว่า “หางเกลือ ” ซึ่งในการทำเหมืองที่จังหวัดอุดรธานีนี้มีการคาดการณ์ว่ากองเกลือทิ้งนี้จะสูงขนาดตึก 16 ชั้นบนสนามฟุตบอลทีเดียว.

เอกสารชุดเดียวกันนี้ได้สรุปด้วยว่า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองโปแตชนี้อาจแบ่งได้เป็น ผลกระทบต่ออากาศ น้ำ ดิน และสังคม. ทั้งนี้ตัวแปรสำคัญที่จะทำให้มีผลกระทบมากหรือน้อยที่สำคัญมาก ได้แก่ วิธีในการขุดเจาะ กระบวนการย่อยและแต่งแร่ การทิ้งหางเกลือ ปริมาณการขุดเจาะ และระยะห่างของเหมืองจากชุมชน รวมทั้งตัวแปรที่สำคัญรองลงมา ได้แก่ ลักษณะของหินแร่ ชนิดของผิวดินที่ปกคลุมแร่อยู่ (เลน ทุ่งนา ภูเขา) ภูมิอากาศ ระบบ นิเวศโดยรอบ.

ผลกระทบต่ออากาศเกิดจากฝุ่น ก๊าซ และไอระเหยจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และอาจพบก๊าซมีเทนจากแหล่งใต้ดินรั่วซึมออกมาซึ่งทั้งคาร์บอนมอนอกไซด์และมีเทน จัดเป็นก๊าซเรือนกระจกมีผลทำให้โลกร้อนขึ้น.

ผลกระทบต่อคุณภาพน้ำเกิดจากการกัดเซาะ หน้าดินบริเวณที่ขุดเจาะและการปนเปื้อนของน้ำเค็ม นอกจากนั้นกระบวนการแต่งแร่ต้องใช้น้ำปริมาณมากจนอาจทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติขาดแคลน จนระบบนิเวศอาจถูกรบกวนและมีปัญหาแย่งแหล่งน้ำกับชาวบ้านหรือผู้ประกอบการอื่น.

ผลกระทบต่อดินเกิดจากการขุดเจาะดินและดินถล่มภายหลังการขุดเจาะ ที่สำคัญมาก คือ การขุดเจาะทำให้ต้องหยุดการเพาะปลูก อาจมีผลกระทบ ต่อระบบน้ำในดิน ระบบนิเวศ และห่วงโซ่อาหาร รวมทั้งอาจกระทบต่อวัฒนธรรมประเพณีของชาวบ้านด้วย.

ผลกระทบทางสังคมอาจเกิดจากการที่สภาพผิวดินเปลี่ยนไป กล่าวคือ บริเวณที่ขุดเจาะ จะไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ สัตว์ที่เคยอาศัยต้องย้ายถิ่น ทำให้กระทบต่อวิถีชีวิตผู้คน. นอกจากนั้นเสียงและความสั่นสะเทือนจากการขุดเจาะหรือระเบิดก็จะมีผลทำให้ชาวบ้านรู้สึกรำคาญด้วย.

สรุปได้ว่าโปแตชไม่ได้ก่อพิษต่อร่างกายโดยตรงเทียบกับสารเคมีอื่น เช่น ยาฆ่าแมลงหรือโลหะหนักแต่ผลกระทบจะเกิดทางอ้อมจากการปนเปื้อนในอากาศ น้ำ และดินที่กล่าวมา. รวมทั้งประเด็นการแย่งแหล่งน้ำและทิ่ดินทำกิน ซึ่งถ้าประเมินด้วยมุมมองของนักสังคมวิทยาและมนุษยวิทยาแล้ว ผลกระทบเชิงสังคมเหล่านี้สำคัญและเยียวยาได้ยากกว่าผลต่อสุขภาพทางกายเสียอีก.

คำถามที่ค้างคา
การเข้าเยี่ยมพื้นที่ที่จะทำเหมืองในช่วงกลางปี พ.ศ. 2546 ทำให้เห็นข้อเท็จจริงว่าชาวบ้านกำลังรับรู้ข้อมูลความเสี่ยงได้ต่างกัน โดยพบว่า หมู่บ้านในพื้นที่ระบุตนเองชัดเจนว่าเป็นผู้สนับสนุนหรือคัดค้านการทำเหมืองสังเกตได้จากสีของธงผ้าที่ปักหน้าหมู่บ้านถ้าเป็นกลุ่มสนับสนุนจะปักธงสีแดง ขณะที่กลุ่มอนุรักษ์หรือคัดค้านจะปักธงสีเขียว (กว่าจะจำได้เล่นเอาผู้เขียนเวียนศีรษะ). และการสอบถามข้อมูลในระยะต่อมาจนปัจจุบัน พบว่าชาวบ้านแต่ละกลุ่มต่างเพิ่มจำนวนและคัดค้านอีกฝ่ายมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีผู้กล่าวอ้างว่า “บางหมู่บ้านแตกกันขนาดไม่ยอมทำบุญร่วมวัดกัน” นับเป็นประเด็นที่น่าสนใจไม่น้อยว่าข้อมูลที่แต่ละฝ่ายถืออยู่นั้นถูกต้องหรือเชื่อถือได้ขนาดไหน.

ผู้เกี่ยวข้องกลุ่มหนึ่งที่เข้าไปมีบทบาทในพื้นที่ได้แก่ บริษัทผู้รับเหมา Asia Pacific Potash Corporation ซึ่งมีบริษัท Asia Pacific Resources (APR) จากประเทศแคนาดาเป็นบริษัทแม่และถือหุ้นร้อยละ 90 ของการทำเหมืองโปแตชที่จังหวัดอุดรธานี (รัฐบาลไทยถือหุ้นร้อยละ 10). ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้ผลิตเอกสารประชาสัมพันธ์ให้เห็นคุณอนันต์และประโยชน์มหันต์ของการทำเหมืองแร่โปแตช โดยเฉพาะในแง่การสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมในการออกหน่วยแพทย์เพื่อให้การตรวจรักษาฟรีแก่ชาวบ้าน การสนับสนุนงาน บุญบั้งไฟ การมอบทุนการศึกษา ฯลฯ ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นการเอื้อเฟื้อต่อชุมชนหรือทำการประชาสัมพันธ์เฉพาะส่วนดีเท่านั้นก็ได้.

นอกจากชาวบ้านและตัวแทนเหมืองแล้ว อีกกลุ่มที่มีบทบาทไม่น้อย คือ กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนและนักวิชาการในพื้นที่ที่รวมตัวกันเป็น “คณะทำงานศึกษาและติดตามโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี” ซึ่งมีบทบาทมากในการระดมความคิดของชาวบ้าน รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลในเชิงสังคมทั้งหลายและการ ” ชงเรื่อง” ต่อผู้บริหารระดับต่างๆ ทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข.

ท่านผู้อ่านน่าจะตั้งคำถามว่า แล้วเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรทำอะไรบ้าง?

เจ้าหน้าที่สธ.
ในช่วงที่กำลังมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน และสื่อมวลชนอย่างมากนั้น ดูเหมือนว่าท่าทีของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี คือ การรับทราบความเคลื่อนไหวและรอดูท่าที มากกว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวเชิงรุก ไม่ว่าจะเป็นในเชิงการจัดการหรือเชิงวิชาการ.

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกรณีเหมืองโปแตชนี้เป็นโครงการระดับชาติโครงการหนึ่งที่หลายหน่วยงานตั้งคำถามถึงความเป็น “นโยบายสาธารณะ” ที่น่าจะก่อปัญหาผลกระทบหลายด้าน แต่ไม่ได้มีการประเมินผลกระทบอย่างเต็มที่ทางวิชาการก่อนดำเนินการ. ทำให้หน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข 4 หน่วยงาน มีความสนใจที่จะทราบข้อมูลและร่วมเคลื่อนไหวใน พื้นที่ ได้แก่ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานปฏิรูประบบบริการสุขภาพ (สปรส.) กองสุขาภิบาลและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัยและสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. โดย 3 หน่วยงานแรกได้ร่วมกันประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ตามหลักการของการทำ HIA ที่ยอมรับกันเป็นสากล เช่น การรับรู้ข่าวสาร การเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น การยื่นข้อเสนอค้านการให้สัมปทานโดยองค์กรปกครอง ท้องถิ่น เป็นต้น. ขณะที่หน่วยงานหลังให้ความสนใจในการเตรียมการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในแง่ทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่น จะเกิดการปนเปื้อนอะไรบ้างในสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองซึ่งอาจมีผลต่อสุขภาพ มีประชาชนกลุ่มเสี่ยงอยู่มากน้อยเท่าใดในพื้นที่ทำเหมือง เป็นต้น.

เนื่องจากผู้เขียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของกรมควบคุมโรค จึงจะขออธิบายโดยสังเขปว่าได้มีการเคลื่อนไหวอะไรบ้างของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตามแนวทางของกรมควบคุมโรค. การดำเนินการเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงของกรมควบคุมโรค เยี่ยมพื้นที่ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 และเข้าพบนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุดรธานีและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ตั้งแต่สถานีอนามัยในพื้นที่ทำเหมือง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 (ขอนแก่น) เพื่อหาแนวทางในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่.

จากนั้นได้มีการบรรยายและเสวนาในกลุ่มเจ้าหน้าที่หลายครั้งเพื่อทำให้เกิดแนวทางการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในลักษณะก่อนเกิดเหตุการณ์อันจะประกอบด้วย การนำข้อมูลด้านการทำเหมืองจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่มาทำ mapping เพื่อระบุพื้นที่ที่อาจเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมือง และการเก็บข้อมูลสุขภาพพื้นฐานที่เกี่ยวเนื่องกับผลกระทบต่อสุขภาพอันอาจจะเกิดขึ้น เช่น ถ้าคิดว่าประชาชนที่เป็นโรคไตหรือความดันเลือดสูงจากการได้รับเกลือที่ปนเปื้อนในน้ำ อากาศ หรือดิน ก็น่าที่จะทราบว่า ณ เวลานี้ที่ยังไม่มีการสร้างเหมือง มีประชากรกลุ่มเสี่ยงนี้ในพื้นที่จำนวนกี่คนมีความรุนแรงของโรคเพียงใด เป็นต้น.

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 ได้มีการประชุมร่วมกันครั้งที่ 1 ระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ อุตสาหกรรมจังหวัด สาธารณสุขทุกระดับ และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 (อุดรธานี) เพื่อออกแบบการเก็บข้อมูลพื้นฐานทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และได้มีการประชุมร่วมกันครั้งที่ 2 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยของ 11 ตำบลที่อยู่ในพื้นที่ทำเหมืองและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีได้ไปเก็บมาและได้มีการวางแผนในการเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลต่อเนื่องในระยะยาว. รวมทั้งแผนการทำงานร่วมกับประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อช่วยกันสร้างความเข้าใจและลดความขัดแย้งในพื้นที่อีกด้วย.

หวังว่าท่านผู้อ่านคง ” เห็นภาพ” ขึ้นบ้างว่าการพยายามเตรียมความพร้อมในการรับมือเหตุการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งจำเป็น และถึงแม้จะต้องใช้ความพยายามมากในการดำเนินการแต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ก็มีศักยภาพหากได้รับการสนับสนุนและมีเครือข่ายการทำงานที่ชัดเจน. ผู้เขียนคิดว่าไม่ว่าจะเกิดการทำเหมืองหรือไม่ก็ตามเจ้าหน้าที่แถบอุดรธานีก็จะมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพประชาชน.

*พระราชบัญญัติแร่ ( พ.ศ.2545)
**ปุ๋ยสูตรเคมีที่ใส่ต้นไม้ ประกอบด้วยแร่ธาตุ 3 ตัวคือ N-P-K หรือ ไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โพแทสเซียม

เอกสารอ้างอิง
1. United Nations Environmental Program. Division of Technology Industry and Economics. International Fertilizer Industry Association. ” Environmental Aspects of Phosphorus and Potash Mining” Dec 2001. (ISBN 92-8-7-2052-X)

ฉันทนา ผดุงทศ พ.บ., DrPH in Occupational Health, สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข, E-mail address

ข่าวเหมืองแร่โปแตสเซียม จากกรมวิชาการเกษตร

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน ทำเหมืองโปแตสเซียมกู้วิกฤษติราคาปุ๋ยเคมี

 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 51 นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคาปุ๋ยเคมีที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธาตุโปแตสเซียมที่ไทยมีการนำเข้าเพื่อนำมาผลิตเป็นปุ๋ยเคมีปีละไม่น้อยกว่า 5 แสนตัน จากเดิมที่มีราคาเพียง 200-300 บาท ปรับเพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 1,000 บาท/ตัน จนส่งผลกระทบต่อราคาปุ๋ยภายในประเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว กรมวิชาการเกษตร ได้เสนอให้ศึกษาความเป็นได้ในการจัดทำเหมืองแร่ โปแตสเซียมในไทย โดยเห็นว่าไทยมีศักยภาพในการผลิตโปแตสเซียม โดยมีแหล่งแร่ที่สำคัญอยู่ในพื้นที่ จ.อุดรธานี และชัยภูมิ หากแต่ติดปัญหาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมจึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการเหมืองแร่โปแตสเซียมได้ ทางกระทรวงเกษตรฯ จึงให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีในประเทศไทยและการจัดทำเหมืองแร่โปแตสเซียมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา การจัดทำเหมืองแร่โปแตสเซียมในไทยมักจะถูกต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ ซึ่งหากไทยมีการศึกษาแนวทางการจัดทำเหมืองแร่โปแตสเซียม โดยสามารถลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี น่าจะได้รับการยอมรับจากประชาชนมากขึ้น. ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=182231&NewsType=1&Template=1 ข่าวที่เกี่ยว

ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง การทำเหมืองแร่ กับ อนาคตของประเทศไทย

คิดใหม่ อีกรอบ การตีกรอบ 19 โครงการ ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมรุนแรง

02 เมษายน 2553 ที่มา มติชน

โดย วิเชียร ปลอดประดิษฐ์ วิเชียร ปลอดประดิษฐ์ เลขาธิการ สภาการเหมืองแร่

เป็นคนหนึ่งที่ติดตามเรื่องการปรับปรุงรายการ “โครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ตามมาตรา 67 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550” ของคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในฐานะคนที่ ศึกษาและคลุกคลีอยู่ในวงการเหมืองแร่มานาน รู้สึกว่าหลายฝ่ายยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ การ ทำเหมืองแร่หลายเรื่อง จึงขอยกเอาเหตุผลจากความรู้และ ประสบการณ์ด้านนี้มาแบ่งปัน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้เปิดใจรับฟังว่ามีทรรศนะ ที่เหมือน หรือต่างไปจากนี้หรือไม่เรื่องแรก การใช้เงื่อนไขพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์พื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติมตามมติ ครม. เป็นตัวกำหนดความรุนแรงของผลกระทบต่อชุมชนของกิจกรรมใดๆ โดยเฉพาะการทำเหมืองแร่ ในความเป็นจริง พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่หวงห้ามที่ไม่อนุญาตให้มีคนเข้าไปอยู่อาศัย มูล เหตุที่จะทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากกิจกรรมใดๆ มีความเป็นไป ได้น้อยมาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย หากจะถือตามหลักว่า กิจกรรมใดๆ ในพื้นที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนปลายน้ำที่อยู่ห่างไกลได้แล้ว กิจกรรมใดๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำนอกเขตพื้นที่ต้องห้ามเหล่านั้น ย่อมมีโอกาสส่งผลกระทบต่อชุมชนปลายแม่น้ำที่อยู่ไกลได้มากกว่า ตาม หลักนี้ย่อมหมายความว่ากิจกรรมใดๆ ในประเทศไทยก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงได้ทั้งสิ้นเพราะ กิจกรรมในทุกพื้นที่ย่อมมีโอกาสส่งผลกระทบต่อลำน้ำของพื้นที่นั้นๆ ข้อ เท็จจริงที่สำคัญอีกอย่างคือ ประเทศไทยมีการทำเหมืองแร่ในพื้นที่หวงห้ามเหล่านั้นมาก่อนนับร้อยปี แต่ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าการทำเหมืองแร่ ยกเว้นแร่ตะกั่วและแร่สังกะสี ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชนห่างไกลที่อยู่โดยรอบ เรื่อง ที่สอง การทำเหมืองแร่ใต้ดิน แม้ว่าจะมีโอกาสส่งผลกระทบต่อชุมชน แต่ก็ไม่น่าจะรุนแรง เพราะกิจกรรมทำเหมืองส่วนใหญ่อยู่ใต้ดิน ไม่มีการปล่อยฝุ่น ควัน และเสียงออกมาภายนอก นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่หน้างานจำกัด ไม่สามารถทำการระเบิดขนาดใหญ่ที่จะสร้างแรงสั่นสะเทือนที่รุนแรงได้ จึงแทบจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชนใกล้เคียงเลย สำหรับ ประเด็นการสร้างความเสียหายให้แก่ชั้นน้ำใต้ดินก็มีโอกาสเกิดน้อยมาก เพราะวิศวกรเหมืองแร่จะหลีกเลี่ยงการเจาะอุโมงค์ผ่านชั้นน้ำใต้ดิน เนื่องจากน้ำใต้ดินที่ไหลออกมาจะท่วมเหมือง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคขั้นวิกฤตในการทำเหมืองใต้ดิน ส่วนเรื่องการปนเปื้อนโลหะในน้ำใต้ดิน ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เฉพาะการทำเหมืองใต้ดินเพื่อผลิตแร่โลหะหนัก หรือแร่ที่มีโลหะหนักเป็นเพื่อนแร่เท่านั้น ไม่มีเหตุผลใดที่จะทำให้การทำเหมืองใต้ดินเป็นสาเหตุให้น้ำใต้ดินปนเปื้อน โลหะหนักได้ การทำเหมืองแร่ใต้ดิน หากจะมีประเด็นที่น่าเป็นห่วง ก็คือการทำเหมืองด้วยวิธี Block caving, Long wall และ Short wall เท่านั้น เพราะอาจทำให้แผ่นดินข้างบนทรุดตัวรุนแรงเนื่องจากวิธีดังกล่าวจะขุดเอาแร่ ออกมาหมด ไม่เหลือแร่เป็นเสาค้ำยันเพดานไว้ หากชุมชนมีความ กังวลในเรื่องนี้ ขอเสนอให้ระบุประเภทโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ให้ชัดเจน โดยแก้ไขจาก “เหมืองแร่ใต้ดินตามกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่ทุกขนาด” เป็น “เหมือง ใต้ดินตามกฎหมายว่าด้วยแร่ โดยวิธี Block caving, Long wall และ Short wall หรือวิธีการทำเหมืองใต้ดินอื่นใดที่ยินยอมให้พื้นดินทรุดตัว เว้นแต่เจ้าของที่ดินเหนือเหมืองแร่ใต้ดินนั้นให้ความยินยอม” เรื่อง สุดท้าย ยอมรับว่า ที่ผ่านมาการทำเหมืองแร่บางชนิดในประเทศไทย เช่น เหมืองแร่ตะกั่ว ซึ่งมีโลหะหนักเหมืองแร่สังกะสีที่มีแคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะหนักเป็นเพื่อนแร่และเหมืองแร่ที่มีสารหนูเป็นเพื่อนแร่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพชุมชนที่อยู่ท้ายน้ำ แต่ก็ใช่ว่าการทำ เหมืองแร่ทุกประเภทจะส่งผลกระทบรุนแรงไปหมด เหมืองแร่ดีบุกใน ภาคใต้ของไทย ก็เป็นเหมืองดีที่ได้เคยอยู่ร่วมกับชุมชนในพื้นที่ได้ดีมาตลอด นอก จากแร่ดีบุกแล้ว แร่โลหะอื่นๆ หลายชนิด เช่น แร่เหล็ก แร่อะลูมิเนียม ก็เป็นแร่โลหะที่ไม่มีพิษ และไม่มีเพื่อนแร่ที่เป็นพิษแต่อย่างใด หาก จะเหมารวมให้ “เหมืองแร่โลหะทุกชนิดทุกขนาด”อยู่ในกลุ่มโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรง ก็ไม่น่าจะถูกต้องนัก น่าจะระบุให้ชัดเจนขึ้นเป็น “เหมืองแร่ตะกั่ว เหมืองแร่สังกะสี เหมืองแร่แคดเมียม เหมืองแร่ปรอท เหมืองแร่ยูเรเนียม และ เหมืองแร่โลหะอื่นที่ใช้ไซยาไนด์ในกระบวนการผลิตทุกขนาด” มากกว่า ในโอกาสนี้ อยากจะขอให้สังคมทราบความจริงถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ว่า ในปัจจุบันแร่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดสำหรับมนุษย์เราไปแล้ว ดู รอบๆ ตัวเรา ทุกอย่างทำจากแร่เกือบทั้งหมด ไม่ว่าถนนหนทาง ยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไม้สอย เครื่องสำอาง และยารักษาโรค โลกที่มีพลเมืองกว่า6,000 พันล้านคน ไม่สามารถย้อนยุคกลับไปดำรงชีวิตโดยไม่มีแร่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะมันไม่ได้หมายถึงเพียงการขาดความสะดวกสบาย แต่มันหมายถึงความตายของผู้คนนับพันๆ ล้านคน และความยากแค้นจากการขาดแคลนที่อยู่อาศัย เหตุที่ผู้คนตาย เพราะเราจะขาดปุ๋ยอินทรีย์และน้ำชลประทานในการคงหรือเพิ่มปริมาณผลผลิตอาหาร จากการเกษตรกรรม และเราจะไม่มียานพาหนะเพียงพอที่จะขนส่งอาหารจากแหล่งเพาะปลูกไปยังเมือง ป่าไม้จะสูญสิ้นเพราะผู้คนจะลักลอบตัดไม้เพราะต้องใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิงหุง ต้มและเป็นวัสดุในการสร้างที่อยู่อาศัยแทนหินและโลหะ ในกรณี ที่ประเทศอื่นยังทำเหมืองแร่อยู่ แต่ประเทศไทยเห็นว่าเหมืองแร่เลวร้ายและตัดสินใจไม่ทำเหมืองแร่ทุกชนิดโดยจะ แก้ปัญหาด้วยการนำเข้าแร่มาใช้แทนแล้ว เราต้องนำเข้าแร่เป็นมูลค่าประมาณ 170,000 ล้านบาท เมื่อบวก มูลค่าแร่ที่ผลิตได้ในปัจจุบันอีก ประมาณ 40,000 ล้านบาทแล้ว การไม่ทำเหมืองแร่ในประเทศไทยเลย เราจะสูญเสียเงินโดยตรงรวมประมาณ 210,000 ล้านบาท หรือประมาณ1% ของจีดีพี นี่ยังไม่นับผลกระทบต่อเนื่องอีกมหาศาลจากการที่เงินจำนวนนั้นจะหายไปจาก ระบบเศรษฐกิจ โดยรวม ไม่อยากให้สังคมมองว่าอุตสาหกรรมเหมืองแร่เป็นผู้ร้าย หรือเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง เหมือง แร่อยู่ในสังคมไทยมาแล้วกว่า 100 ปี และได้ทำประโยชน์และพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทยมานาน ในอดีตแร่ ดีบุกก็เป็นแร่เศรษฐกิจของประเทศที่สร้างรายได้ให้พี่น้องชาวใต้ การทำเหมืองแร่หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ก็มีมานานและมีประวัติอยู่ ร่วมกับชุมชนด้วยดีมาโดยตลอด ปัญหาหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพียงแต่เราศึกษาให้เข้าใจ และผลักดันไปในแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม ก็จะช่วยพัฒนาให้ประเทศเติบโตควบคู่กันไป ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ชุมชนก็จะอยู่อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ ดี–จบ–

 

*********เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ และเป็นความหวังของวงการเหมืองแร่ ทุกระดับนะครับ**********

LAO – Thai, LAO – English Translator

 
 
Specialist in Mining Sector, I do translate LAO to English and LAO to Thai mining documents at  VERY VERY cheap price.
 
 
 LAO-English ,LAO-Thai translation, translator
 
 
My mobile phone (66) 08-6264-3266
My E-mails address  boonchoo_paipong@hotmail.com
                               boonchoo_goldminer@hotmail.com
 

เกียรติภูมิ (คัดลอกเขามา) ชอบนะ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nthisreal&group=3

เกียรติของเรา ไม่ต้องมีใครมาตีความ

อ่านแล้วชอบจัง โดยเฉพาะคำตอบสุดท้ายน่ะ

ถาม: ในความคิดเห็นของคุณ คุณว่าเด็กจุฬาฯ สมัยคุณอาจินต์ กับเด็กจุฬาฯ สมัยคุณ มีความคิดอ่านแตกต่างกันแค่ไหน
จิระ: ผมว่าคงต้องแตกต่างกันมากๆ เพราะในยุคของคุณอาจินต์ คำว่าจุฬาฯ คำว่ามหาวิทยาลัย ดูเป็นสิ่งสำคัญมาก การที่เด็กคนหนึ่งเข้ามหาวิทยาลัยได้ เข้าจุฬาฯ ได้ เขาต้องเป็นคนไม่ทั่วไป แน่นอนต้องเรียนเก่งมาก และสูงส่งมากๆ มีตอนหนึ่งในเรื่องเหมืองแร่ คุณอาจินต์เล่าว่า มีรุ่นพี่เดินทางมาหาที่เหมือง และบอกแกว่า คุณลาออกจากงานเหมืองเถอะ เพราะมันจะทำให้เกียรติของจุฬาฯ ลดต่ำลง คุณอาจินต์ตอบไปว่า ถ้ามันทำให้เกียรติจุฬาฯ ลดต่ำลงจริงๆ ผมจะลาออกเดี๋ยวนี้เลย แต่ว่า ถ้ามันทำให้เกียรติของผมคนเดียวลดต่ำลง ผมไม่ลาออกหรอก เพราะเกียรติของผมหมดไป ตั้งแต่วันที่โดนรีไทร์ออกมาจากจุฬาฯ แล้ว นี่แสดงให้เห็นชัด ว่าความรู้สึกต่อมหาวิทยาลัยสมัยนั้น มันยิ่งใหญ่แตกต่างจากสมัยนี้เยอะมาก

ถาม: ประเด็นจะใกล้เคียงกับคนสมัย 14 ตุลาไหม ที่เขาตั้งคำถามกับคุณค่าของสถาบันการศึกษา และใบปริญญา หรือเปล่าครับ
จิระ: แตกต่างกันนะ ผมว่ายุค 14 ตุลา นักศึกษาจะแสวงหาวิถีชีวิตของคนหนุ่มสาว แนวทางการมีชีวิตร่วมกันในสังคม ระบบการเมืองที่พวกเขาใฝ่ฝัน เพราะว่าการเมืองตอนนั้นเป็นเผด็จการ เทียบกับสมัยคุณอาจินต์ ผมว่าเด็กนักศึกษาสมัยนั้น แสวงหาเกียรติยศในตัวเอง สิ่งที่หายไปในตอนโดนรีไทร์ แกอยากไปกอบกู้ความภาคภูมิใจในตัวเอง คุณค่าของตัวเอง

ถาม: เหมือนกับว่า เด็กนักศึกษาสมัยคุณอาจินต์ แสวงหาทางแก้ปัญหาระดับส่วนตัว แต่เด็กนักศึกษาสมัย 14 ตุลาฯ สนใจปัญหาระดับสังคมใช่ไหม
จิระ: ทำนองนั้นนะ และเด็กสมัยคุณอาจินต์ ก็กลายมาเป็นพื้นฐานให้กับคนสมัย 14 ตุลาฯ ถ้าคนสมัย 14 ตุลาฯ ไม่เคยได้รับรู้ ไม่เคยได้ยิน ปัญหาของคนรุ่นคนอาจินต์ เขาก็คงยังงงๆ ไม่รู้ว่าจะแสวงหาอะไร แสวงหาไปทำไม คือมันส่งต่อกันมาเป็นทอดๆ สิ่งที่คนรุ่นคุณอาจินต์ค้นพบ คือเกียรติยศอยู่ที่การทำงาน คุณอาจินต์เขียนไว้ในตอนหนึ่ง ว่าผมต้องทำงานให้ดี เพื่อพิสูจน์ว่า ผมไม่ใช่กาฝากของที่นี่ คือแม้แต่ในหน่วยสังคมหนึ่ง ที่แกเข้าไปเป็นกรรมกร แกยังต้องทำงานเพื่อให้มีคุณค่า ทันทีที่แกผ่านตรงนี้ไปแล้ว และกลับมาสู่ชีวิตเดิมในกรุงเทพฯ แกก็ไม่รู้สึกว่าชีวิตด้อยค่าอีกต่อไป แกเอาประสบการณ์จากเหมืองแร่ มาเขียนได้อย่างเชิดหน้าชูตา เขียนบอกทุกคน ว่าแกไปเป็นกรรมกรมา ผมว่าเมื่อเขาได้ผ่านเลยจุดที่จุฬาฯ ยอมรับเขาไปแล้ว เขาจึงจะไปเริ่มแสวงหาคุณค่าใหม่ ชีวิตใหม่

ถาม: เป็นไปได้ไหม ว่าคุณอาจินต์เจอเกียรติของเขา เมื่อเขามาเป็นนักเขียน คือเขาเขียนหนังสือจนดัง จึงเกิดความมั่นใจ ภูมิใจในตัวเอง ไม่ใช่เป็นเพราะเขาไปทำงานหนักที่เหมืองแร่หรอก
จิระ: ถ้าเขาไม่ได้ไปทำงานเหมือง เขาก็ไม่รู้ว่าเขาจะเขียนอะไรไม่ใช่เหรอ ผมนับถือตอนที่เขาตัดสินใจไปเป็นกรรมกรที่เหมือง มันเคยมีกฎหมายของไทยเรา ว่าถ้าผู้ชายคนไหน ไปจีน ไปชวา ไปพังงา อะไรประมาณนี้แหละ แล้วหายไป 3 ปี ไม่กลับมา ให้เมียแต่งงานใหม่ได้เลย นี่แสดงให้เห็นว่า พังงามันไกลมากเลยนะ สมัยนั้นน่ะ ไกลขนาดว่าเมียไม่ต้องรอแล้ว ไม่มีทีวี วิทยุ จดหมายนี่เดือนหนึ่งไปรับมาทีหนึ่ง

ถาม: ถ้าคุณอาจินต์ไม่โด่งดัง ถ้าเขาเป็นแค่คนที่ไปทำงานเหมือง แล้วกลับมาทำงานสถานีโทรทัศน์คนหนึ่งเท่านั้น เขาจะมีเกียรติไหมครับ
จิระ: ผมคิดในทางตรงข้าม คือถ้าเขาไม่ได้ไปทำงานเหมือง เขาจะไม่สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อีกเลย หลังจากโดนรีไทร์แล้ว ประเด็นจริงๆ จึงไม่ได้อยู่ที่ว่าทำงานเหมืองนะครับ ประเด็นคือ เขาถูกรีไทร์ออกมา และเขาต้องค้นหาตัวตนกลับมา คนอื่นที่ทำงานเหมืองอยู่ด้วยกัน อาจจะไม่ได้รู้สึกแย่เท่ากับคุณอาจินต์ เพราะชีวิตของคนพวกนั้น ไม่มีทางเลือกอยู่แล้ว เขาต้องเป็นกรรมกรในเหมืองอยู่แล้ว แต่คุณคิดดู เด็กนักศึกษาที่โดนรีไทร์ แล้วต้องไปทำงานที่นั่น เขาต้องต่อสู้กับตัวเองแค่ไหน แกถึงกับเขียนว่า ข้าพเจ้าได้ฆ่าวิศวกรไปคนหนึ่ง แต่ข้าพเจ้าก้ได้สร้างนักเขียนขึ้นมาทดแทนคนหนึ่ง

ถาม: แล้วคุณคิดว่าเกียรติจริงๆ ของคนเราอยู่ที่ไหน
จิระ: อยู่ที่วินาทีที่เขาเห็นว่าตนเองมีคุณค่า ไม่ใช่คุณค่าที่มาจากเงินในบัญชีธนาคาร ไม่ใช่โทรศัพท์มือถือ หรือใบปริญญาจากเมืองนอก

ถาม: คุณว่าจำเป็นไหม ว่าเกียรติของเรา ขึ้นอยู่กับสายตาคนอื่น การยอมรับของคนอื่น
จิระ: ผมว่าไม่ ผมว่ามันจะมีวินาทีที่เราได้ดูผลงานของตนเอง แล้วรู้สึกว่ามันดี วินาทีนั้นมันยิ่งใหญ่กว่าตอนที่มีคนมาพูดชมอีกนะครับ อย่างนักเขียนคนหนึ่ง เขียนงานออกมาแล้วได้รับการตีพิมพ์ ผมว่าเขาคงมีความสุขกับการนำมันขึ้นมาอ่านอีกรอบ แล้วรู้สึกว่า เออ! นี่เราเขียนดีเว้ย! วินาทีนั้นแหละ ที่เรารู้สึกว่าเรามีคุณค่า ไม่ต้องไปรอให้ใครมาวิจารณ์งานของเรา ว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้

ถาม: ก็เพราะคุณดังแล้ว เป็นที่ยอมรับแล้ว คุณเลยพูดได้ ว่าเกียรติอยู่ที่ตัวเราเอง แต่สำหรับคนอื่น ที่เขาไม่ได้ดังแบบคุณ เขาคงอยากได้รับการยอมรับจากคนอื่นอยู่
จิระ: ผมไม่เคยคิดว่าตัวเองดังเลย ไม่เคยมีเรื่องนี้ในความรู้สึกผม จริงๆ นะ ผมรู้สึกแค่ว่า ทำงานออกมาดีแล้วมีความสุข อย่างสมัยเรียน ตอนที่เขียนงานส่งอาจารย์ ครั้งไหนเขียนงานดี ผมก็รู้สึกดี รู้สึกว่ามันดี เอามาอ่านเอง ยังชมตัวเองเลย ว่าเฮ้ย! กูเก่งเหมือนกันเว้ย! นี่แหละ คือการเห็นคุณค่าของตนเอง

ถาม: แล้วเราจะตัดสินคนอื่นได้ไหม ว่าเขาเป็นคนมีเกียรติ หรือเขาเป็นคนไม่มีเกียรติ
จิระ: ยากครับ เกียรติมันไม่ได้แสดงออกมาให้เห็นชัดๆ หรอก มันเป็นเรื่องภายในส่วนตัวของเขา

ถาม: สมมติว่าผมมีเพื่อนคนหนึ่ง เขาชอบมาบ่นให้เห็นฟัง ว่าฉันน้อยเนื้อต่ำใจ ฉันไม่เห็นคุณค่าในตัวเองแล้ว แบบนี้แสดงว่าเพื่อนคนนี้กำลังขาดเกียรติใช่ไหมครับ
จิระ: (หัวเราะ) ถ้าเขาตระหนักถึงตัวเองขนาดนั้น คิดลึกซึ้งขนาดนั้น ถ้าเขาบ่นได้อย่างมีหลักการขนาดนั้น ผมว่าเขายังมีเกียรติเหลืออยู่นะ

เอามาจากเว็บไซต์เค้าน่ะ

.

อ่านฉบับสมบูรณ์ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้ ครับ

http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_db/sapa13-upload/13-200708163114_1.pdf

อ่านฉบับสมบูรณ์ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้ ครับ

http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=1822&db_file

Previous Older Entries